กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ดำเนินโครงการ CSR-DPIM ปีที่ 2
สร้างความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องกับการส่งเสริมให้อุตสาหกรรมแร่ดำเนินกิจกรรม CSR
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ เพื่อเดินหน้าโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ให้มีมาตรฐานสากลเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ภายหลังจากริเริ่มโครงการ CSR-DPIM เป็นครั้งแรกในปี 2553 ที่มีสถานประกอบการที่ร่วมโครงการ และได้รับโล่ เกียรติบัตร CSR-DPIM 2553 จำนวน 11 แห่ง ได้แก่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (เหมืองแม่เมาะ) จังหวัดลำปาง บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) จังหวัดสระบุรี บริษัท ผาแดงอินดัสทรีจำกัด (มหาชน) จังหวัดตาก บริษัท เคมีแมน จำกัด จังหวัดสระบุรี บริษัท บ้านปูมินเนอรัล จำกัด จังหวัดลำพูน บริษัท จี สตีล จำกัด จังหวัดระยอง บริษัท เหล็กสยาม (2001) จำกัด จังหวัดสระบุรี บริษัท ศิลาเลิศจิต จำกัด จังหวัดสระบุรี ห้างหุ้นส่วนจำกัด และโรงโม่หินชุมแพรุ่งเรือง จังหวัดขอนแก่น และบริษัท ศิลาอารี จำกัด จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งความสำเร็จดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน กล่าวคือ สถานประกอบการทั้ง 11 แห่ง มีการจัดทำแผนงาน โครงการด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนรวมทั้งสิ้น 25 โครงการ และเพื่อให้แนวปฏิบัติที่ดีดังกล่าวถูกขยายผลไปยังผู้ประกอบการแร่รายอื่น
ก้าวสู่ปีที่ 2 ….. โครงการ CSR-DPIM ได้พัฒนามาตรฐานให้มีความเป็นปัจจุบันมากขึ้นโดยนำมาตรฐาน ISO 26000 ที่ได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมาเป็นกรอบในการจัดทำมาตรฐาน CSR-DPIM 2554 และประชาสัมพันธ์โครงการ โดยจัดสัมมนาเผยแพร่ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหมืองแร่ นักวิชาการ สถาบันการศึกษา NGOs สถาบันอิสระ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้สนใจทั่วไป มีความรู้ ความเข้าใจด้านความรับผิดชอบต่อสังคมตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหมืองแร่ (CSR-DPIM) จำนวนไม่น้อยกว่า 200 คน และมีสถานประกอบการสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ CSR-DPIM2554 และผ่านการทวนสอบจำนวน 16 แห่ง จำแนกตามประเภทอุตสาหกรรมดังนี้
เหมืองแร่ รวม 7 แห่ง
1.
บริษัท หินอ่อน จำกัด
2.
บริษัท พี แอนด์ เอส โดโล-ไลม์ จำกัด
3.
บริษัท ทรูสโตน จำกัด
4.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ชุติวรรณ
5.
บริษัท ส.เต็งไตรรัตน์ (น่าน) จำกัด
6.
ปูนซีเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำกัด
7.
บริษัท นครหลวงคอนกรีต จำกัด ในเครือบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด
โรงประกอบโลหกรรม รวม 2 แห่ง
1.
บริษัท จี เจ สตีล จำกัด (มหาชน)
2. บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำกัด
โรงแต่งแร่ รวม 2 แห่ง
1. บริษัท สินหลวง จำกัด
2.
บริษัท สินแร่สาคร จำกัด
โรงโม่บด หรือย่อยหิน รวม 5 แห่ง
1. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทุ่งนุ้ยศิลาทอง
2. บริษัท นครหลวงคอนกรีต จำกัด ในเครือบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน)
3. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ผลิตภัณฑ์ศิลาศรีบุรี
4. บริษัท มานะศิลา 2537 จำกัด
5.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด นครรัตนศิลา
ผลสัมฤทธิ์จากการเข้าร่วมโครงการ CSR-DPIM 2554 นี้ คือ สถานประกอบการมีการจัดทำโครงการด้านสิ่งแวดล้อม และโครงการพัฒนาชุมชนข้างเคียง รวมทั้งสิ้นกว่า 34 โครงการ ทั้งมีการรายงานผลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักเกณฑ์ของมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางการจัดการภายในองค์กรให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน และยังสามารถใช้เป็นฐานข้อมูลสำคัญในการเผยแพร่ผลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร สู่สาธารณชนต่อไป
รวมภาพประกอบสรุปโครงการ CSR-DPIM 2554